นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าเนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 70 พรรษา 28 กรกฎาคม 2565 การรถไฟฯ ได้จัดขบวนรถพิเศษนำเที่ยว รถจักรไอน้ำเฉลิมพระเกียรติเส้นทางสายประวัติศาสตร์ กรุงเทพ-พระนครศรีอยุธยา เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและพสกนิกรชาวไทย เป็นส่วนหนึ่งในการเดินทางร่วมเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนแสดงออกถึงความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ สร้างประโยชน์สุขต่อประชาชนและประเทศชาติตลอดมาทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้นำขบวนรถจักรไอน้ำแบบแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลิตโดยบริษัท นิปปอน ชาร์เรียว จำกัด ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาและซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงรถจักธนบุรีมาเปิดให้บริการแก่ประชาชน ได้ย้อนวันวานเดินทางสัมผัสเส้นทางในอดีต กรุงเทพ ndash;อยุธยา-กรุงเทพขบวนที่ 901/902 โดยออกเดินทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.10 น.ถึงสถานีอยุธยา เวลา 10.25 น. จากนั้นนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไหว้พระตามวัดสำคัญ โบราณสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนเช็คอินถ่ายภาพร้านอาหาร คาเฟ่ และแวะซื้อของฝาก โดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง ก่อนเดินทางกลับจากสถานีอยุธยา เวลา 16.40 น. ถึงกรุงเทพเวลา 18.55 น. โดยระหว่างทางผู้โดยสารสามารถขึ้นลง ได้ที่สถานีและที่หยุดรับ- ส่งผู้โดยสาร ได้แก่ สถานีสามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ดอนเมือง และรังสิต นายเอกรัช กล่าวต่อว่า การจัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เส้นทางกรุงเทพ ndash; อยุธยา ndash; กรุงเทพ ถือเป็น 1 ใน 6 โอกาสพิเศษ ที่การรถไฟฯนำหัวรถจักรไอน้ำ รุ่นแปซิฟิก หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเปิดเดินรถให้ประชาชน ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของรถไฟ ตลอดจนช่วยส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพ ทำให้เศรษฐกิจฐานรากระดับท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน ส่วนในทริปต่อไปผู้โดยสารสามารถร่วมเดินทางท่องเที่ยวกับขบวนรถจักรไอน้ำได้อีกครั้ง ในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 เส้นทางกรุงเทพ ndash; ฉะเชิงเทรา โดยจะเริ่มเปิดจำหน่ายตั๋วพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2565สำหรับอัตราค่าโดยสารเดินทางไป-กลับ ผู้ใหญ่/เด็ก คนละ 299 บาท ซึ่งรวมบริการอาหารว่าง น้ำดื่ม บนขบวนรถ ทั้งเที่ยวไป ndash; กลับแล้ว สามารถจองตั๋วได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ที่สถานีรถไฟทุกแห่ง หรือผ่านระบบ D-Ticket โดยผู้ร่วมเดินทางทุกคนต้องได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม และสามารถแสดงหลักฐานผ่าน Digital Health Pass บนหมอพร้อม แอพพลิเคชั่น หรือแสดงผลตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมงต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดคัดกรองวันเดินทางได้ สนใจสอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ โทร.1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเว็บไซต์ www.railway.co.th หรือเฟซบุ๊ก แฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย.
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้เปิดให้บริการโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ ndash; รังสิต และบางซื่อ ndash; ตลิ่งชัน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ การรถไฟฯ จึงได้เปิดให้บริการขบวนรถดีเซลรางชานเมือง (Feeder) ในเส้นทางสายใต้ เพื่ออำนวยความสะดวกเชื่อมต่อการเดินทางกับเส้นทางรถไฟฟ้า และระบบคมนาคมขนส่งอื่น ในพื้นที่ปริมณฑลถึงกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการช่วยสนับสนุนนโยบายของกระทรวงคมนาคม และรัฐบาล ในการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพื่อประหยัดการใช้น้ำมันและพลังงาน ตลอดจนยังกำหนดอัตราค่าโดยสารราคาพิเศษ เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน สำหรับผู้โดยสารกรณีขึ้น-ลงที่สถานีชุมทางตลิ่งชันเพื่อเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไปทั้งนี้ ขบวนรถดีเซลรางชานเมือง (Feeder) เส้นทางสายใต้ เป็นขบวนรถระยะสั้น (ไป-กลับ) ระยะทางไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อเที่ยว มีเส้นทางระหว่างสถานีธนบุรี-ตลิ่งชัน-นครปฐม (สายใต้) เปิดให้บริการ 20 ขบวนต่อวัน สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน และจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีจรัญสนิทวงศ์ รวมทั้งระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้อย่างสะดวก ประหยัด และปลอดภัยนอกจากนี้ การรถไฟฯ ได้กำหนดอัตราค่าโดยสารพิเศษสำหรับผู้โดยสารกรณีขึ้น-ลงที่สถานีชุมทางตลิ่งชันเพื่อเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง ลดราคาค่าตั๋วโดยสารจากอัตราค่าโดยสารปกติร้อยละ 50ดังนี้เดินทางจากสถานีนครปฐม - ชุมทางตลิ่งชัน อัตราค่าโดยสาร 20 บาท จากราคาเดิม 40 บาทเดินทางจากสถานีธนบุรี - ชุมทางตลิ่งชัน อัตราค่าโดยสาร 10 บาท จากราคาเดิม 20 บาท รวมทั้ง ได้ปรับเวลาขบวนรถธรรมดาและขบวนรถชานเมือง จำนวน 4 ขบวน ประกอบด้วยขบวนรถธรรมดาที่ 260 (น้ำตก ndash; ธนบุรี) ขบวนรถชานเมืองที่ 351/352 (ธนบุรี ndash; ราชบุรี ndash; ธนบุรี)ขบวนรถชานเมืองที่ 356 (สุพรรณบุรี ndash; กรุงเทพ)เพื่อให้เวลามีความเหมาะสมกับขบวนรถดีเซลรางชานเมือง (Feeder) ช่วงสถานีนครปฐม - ตลิ่งชัน ndash; ธนบุรี อีกด้วยสำหรับผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทางโดยรถดีเซลรางชานเมือง (Feeder) สามารถตรวจสอบเส้นทางและสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้เปิดรับฟังความเห็นของประชาชนเพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเดินรถนั้น ล่าสุด การรถไฟฯ มีความพร้อมในการเปิดเดินรถเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางให้แก่ประชาชนเพิ่มในหลายเส้นทาง ประกอบด้วย การเพิ่มขบวนรถเชิงพาณิชย์ (รถทางไกล) เส้นทางสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ จำนวน 6 ขบวนการขยายปลายทางขบวนรถบริการเชิงสังคม (รถระยะสั้น) อีก 4 ขบวน ซึ่งสามารถรองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่จะมีมากขึ้นทั้งในเขตเมือง ระหว่างเมือง และทางไกล เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป ดังนี้ สายเหนือ จำนวน 2 ขบวน - ขบวนรถด่วนที่ 51 กรุงเทพ ndash; เชียงใหม่ เปิดให้บริการวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 - ขบวนรถด่วนที่ 52 เชียงใหม่ ndash; กรุงเทพ เปิดให้บริการวันที่ 2 พฤษภาคม 2565สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2 ขบวน - ขบวนรถเร็วที่ 141 กรุงเทพ ndash; อุบลราชธานี เริ่มให้บริการวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 - ขบวนรถเร็วที่ 142 อุบลราชธานี ndash; กรุงเทพ เริ่มให้บริการวันที่ 2 พฤษภาคม 2565สายใต้ จำนวน 2 ขบวน - ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 37 กรุงเทพ ndash; สุไหงโกลก เริ่มให้บริการวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 - ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 38 สุไหงโกลก ndash; กรุงเทพ เริ่มให้บริการวันที่ 13 พฤษภาคม 2565ขบวนรถที่ขยายสถานีต้นทาง/ปลายทาง จำนวน 4 ขบวน - ขบวนรถธรรมที่ 233 ขยายต้นทางปลายทางเป็น กรุงเทพ ndash; สุรินทร์ เริ่มให้บริการวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 - ขบวนรถธรรมที่ 234 ขยายต้นทางปลายทางเป็น สุรินทร์ ndash; กรุงเทพ เริ่มให้บริการวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 - ขบวนรถชานเมืองที่ 379 ขยายต้นทางปลายทางเป็น กรุงเทพ ndash; ฉะเชิงเทรา เริ่มให้บริการวันที่ 16 พฤษภาคม 2565 - ขบวนรถชานเมืองที่ 380 ขยายต้นทางปลายทางเป็น ฉะเชิงเทรา ndash; กรุงเทพ เริ่มให้บริการวันที่ 17 พฤษภาคม 2565นายเอกรัช กล่าวเพิ่มว่า การรถไฟฯ ยังมีแผนทยอยปรับเพิ่มการเดินรถให้สอดรับกับความต้องการเดินทางของประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากรวมขบวนรถที่จะเปิดให้บริการอีก 6 ขบวน ในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จะทำให้มีขบวนรถที่เปิดให้บริการทั้งสิ้น 194 ขบวนต่อวัน แบ่งเป็นขบวนรถเชิงพาณิชย์ 54 ขบวน ขบวนรถเชิงสังคมเปิดให้บริการ 140 ขบวน และแบ่งตามเส้นทางได้เป็นสายเหนือ 36 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 46 ขบวน สายใต้ 50 ขบวน สายตะวันออก 24 ขบวน สายมหาชัย 34 ขบวน และสายแม่กลอง 4 ขบวนนอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังมีแผนทยอยปรับเพิ่มการเดินรถอย่างต่อเนื่อง ให้สอดรับกับความต้องการเดินทางของประชาชนที่มีมากขึ้นในอนาคต โดยอยู่ระหว่างเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อดำเนินการจัดหาหัวรถจักรและตู้โดยสารใหม่ ตลอดจนให้ฝ่ายการช่างกลเร่งปรับปรุงหัวรถจักร และตู้โดยสาร เพื่อนำมาเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างเพียงพอ สำหรับการปรับเพิ่มขบวนรถในครั้งนี้ การรถไฟฯ ยังให้ความสำคัญต่อมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดndash;19 ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุขควบคู่กัน โดยได้กำหนดจุดคัดกรองวัดไข้ผู้โดยสารก่อนเข้าในพื้นที่สถานี การตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือ การให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา พร้อมกับให้สแกนแอพพลิเคชันไทยชนะก่อนและหลังใช้บริการ หากผู้โดยสารไม่สามารถใช้แอพพลิเคชันไทยชนะ ให้กรอกข้อมูลการเดินทางแทน โดยผู้ที่ต้องการเดินทาง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ เฟซบุ๊กแฟนเพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
นั่งรถไฟไปเที่ยวไหนก็สนุก นั่งไปเช้า - เย็นกลับ และพักค้างคืน
รับสมัครสอบคัดเลือกลูกจ้างเฉพาะงานของการรถไฟฯ ที่ได้รับการจ้างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อเข้าทำงาน
เที่ยวนครปฐม One Day Trip ด้วยขบวนรถไฟฟีดเดอร์
การรถไฟฯ ทำพิธีเชื่อมต่อสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลอง สะพานรถไฟแบบขึงแห่งแรกของประเทศไทย แลนด์มาร์คแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดราชบุรี ในโครงการรถไฟทางคู่สายใต้
การรถไฟฯ เดินหน้าภารกิจ MISSION ZERO รถไฟห่วงใย ปลอดภัยทุกเส้นทาง ลงพื้นที่รณรงค์ให้ความรู้ชุมชน ขับขี่ยานพาหนะผ่านทางเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์อย่างปลอดภัย เพื่อลดอุบัติเหตุให้เหลือศูนย์ พร้อมแจกจ่ายผลผลิตโครงการต้นแบบสถานี/ซุ้มสวยงาม พืชผักกินได้ บรรเทาภาระค่าครองชีพแก่ประชาชน
Online Booking Service
Passenger Train Service
Reserved Saloon Service
Freight & Parcels Service
Train Tracking Service
SRT Procurement
คู่มือการเดินทาง หนังสือถ้าวันหนึ่งฉันจะนั่งรถไฟ ฉบับเต็ม เวอร์ชั่น 5
การจองตั๋วรถไฟผ่านอินเตอร์เน็ต D-TICKET การจองและการซื้อตั๋วโดยสารผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยระบบ D-TICKET
ขั้นตอนการซื้อตั๋วรถไฟ D-TICKET ขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการซื้อตั๋วรถไฟ D-TICKET
ขั้นตอนการซื้อตั๋วอัติโนมัติ TVM ขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการซื้อตั๋วที่เครื่องซื้อตั๋วอัติโนมัติ Ticket Vending Machine (TVM)