บริการขนส่งสินค้าห่อวัตถุด่วน เป็นบริการรับขนส่งหีบห่อวัตถุจากสถานี เพื่อนำส่งให้กับผู้รับปลายทาง (Station To Door) โดย ขบวนรถด่วนขบวนรถเร็ว และขบวนรถโดยสาร ในเส้นทางสายเหนือ สายใต้ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ
การคิดค่าระวาง
ค่าระวาง = อัตราค่าระวางด่วน + ค่าธรรมเนียม 50 % ของอัตราค่าระวางด่วน สินค้าทั่วไป คิดอัตราค่าระวางด่วน ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 60.00 บาท
สิ่งของตามรายชื่อที่ระบุต่อไปนี้ คิดค่าระวางขั้นต่ำ ดังนี้.-
ก. การคิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100.00 บาท โดยไม่ต้องคิดเป็นรายชิ้น ได้แก่
- ตู้ , โต็ะ , เตียง , เก้าอี้
- เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการกระจายเสียง , เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด
- เส้นหมี่ , วุ้นเส้น
- เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการถ่ายและฉายภาพยนตร์ , ฟิล์มภาพยนตร์
- โอ่ง หรือไหเปล่า
- เครื่องยนต์ทุกชนิดและอุปกรณ์
- เครื่องจักรสาน
- เครื่องใช้ในการมหรสพทุกชนิด
ข. การคิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 150.00 บาท โดยไม่ต้องคิดเป็นรายชิ้น ได้แก่
- นุ่น , สำลี , ฝ้าย , ที่นอน , จากตับ , ใบจาก
- โคมกระดาษ , กระป๋องเปล่า , โฟม , ปี๊บเปล่า
- เครื่องสำหรับเผาเซ่นไหว้ ตามประเพณีจีน
- สัตว์มีชีวิต
- ขวดเปล่า , หีบหรือลังเปล่า , กล่องเปล่า
- เข่งเปล่า กรงเปล่า สำหรับขังสัตว์
- ถังเปล่า (ไม่รวมถังบรรจุน้ำมันหรือก๊าซหุงต้ม)
- ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทำด้วยฟองน้ำ พลาสติกหรืออลูมิเนียม
ค. การคิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100.00 บาท โดยคิดเป็นรายชิ้นหรือรายคัน ได้แก่
- รถคนป่วย
- รถลากหรือรถเข็น
- รถสำหรับเด็กอ่อน
- รถถ่อ/รถโยก
- รถจักรยาน
- รถพ่วง
- จักรเย็บผ้า
- ยานยนต์ขนาดย่อม
การคิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 150.00 บาท โดยคิดเป็นรายชิ้น ได้แก่
- เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ส่วนควบ
ง. ถังสำหรับบรรจุน้ำ ที่มีขนาดเกินกว่า 2.5 x 1.00 x 0.80 เมตร หรือเกินกว่า 2 ลูกบาศก์เมตร คิดค่าระวางขั้นต่ำ
ตามขนาดความจุ ต่อ 1 ถัง ดังนี้
|
||||||||||||||||
|
สัมภาระ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หัตถภาระ คือ ถุงย่าม ห่อผ้า กระเป๋าถือ หีบหรือกระป๋องทุกชนิด ซึ่งผู้โดยสารนำไปในห้องรถโดยสารสำหรับใช้สอยเอง หรือเพื่อความสะดวก
2. ครุภาระ คือ สรรพสิ่งของเครื่องใช้ทุกชนิด ซึ่งผู้โดยสารอจากนำไปในรถภาระ
อนุญาตให้นำสัมภาระไปพร้อมกับตัวผู้โดยสาร ในขบวนรถต่าง ๆ ได้
1. สัมภาระที่มีขนาดไม่เกินกว่า 50 x 50 x 50 ซม. หรือสัญฐานอย่างอื่นที่ไม่เกินปริมาตรเดียวกัน
2. สัมภาระที่ไม่ใช่วัตถุที่ไวไฟหรือเป็นสิ่งอันพึงรังเกียจ หรือสิ่งของส่งกลิ่นรุนแรง หรืออาจเปรอะเปื้อนทำความเสียหายแก่ส่วนประกอบรถ หรือต่อบุคคล หรือสิ่งของของผู้โดยสารอื่น
3. สามารถเก็บในที่วางของหรือใต้ม้านั่งได้โดยเรียบร้อย หากเป็นรถที่ไม่มีที่วางของหรือชั้นวางของก็อนุโลมให้วางไว้ข้างที่นั่งในส่วนที่เป็นสิทธิของแต่ละคน (ตรงกับที่นั่งแต่ละคน) แต่ไม่ให้ล้ำเข้าไปในช่องทางเดินเกินจนไปปิดกั้นช่องทางเดินโดยสิ้นเชิง หรือกีดขวางการใช้สิทธิของผู้โดยสารอื่น และต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญกับผู้โดยสารอื่น
น้ำหนักที่ยกเว้นค่าระวาง กรณีนำไปกับขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถรวม ขบวนรถพิเศษโดยสาร และขบวนรถดีเซลรางที่เดินนอกเหนือ
จากขบวนรถชานเมือง ( ต่อ 1 ท่าน ) ชั้นที่ 1 ไม่เกิน 50 กิโลกรัม ชั้นที่ 2 ไม่เกิน 40 กิโลกรัม ชั้นที่ 3 ไม่เกิน 30 กิโลกรัม ( เด็กในเกณฑ์เสียค่าโดยสาร อนุญาตให้นำไปครึ่งหนึ่งของอัตรา )
กรณีนำไปกับขบวนรถดีเซลรางชานเมืองที่ตั้งต้น และสุดปลายทางอยู่ภายในระหว่างสถานี กรุงเทพ - ปราจีนบุรี - กรุงเทพ , กรุงเทพ - แก่งคอย - กรุงเทพ , กรุงเทพ - ลพบุรี - กรุงเทพ , กรุงเทพและธนบุรี - ราชบุรี - ธนบุรีและกรุงเทพ ผู้ใหญ่ และเด็กในเกณฑ์เสียค่าโดยสาร อนุญาตให้นำไปได้ไม่เกินท่านละ 15 กิโลกรัม การรถไฟฯ อนุญาตให้คนพิการนำรถเข็นซึ่งใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวเป็นสัมภาระติดตัวเดินทางไปกับขบวนรถโดยสารได้ โดยไม่ต้องเสียค่าระวางใด ๆ
รถจักรยานยนต์ อนุญาตให้นำไปกับขบวนรถโดยสาร และรถรวมทุกขบวน โดยเสียค่าระวาง ดังนี้
ขนาดไม่เกิน 125 ซีซี : ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ค่าธรรมเนียม 400 บาท + ค่าขนขึ้น 80 บาท + ค่าขนลง 60 บาท
**ขนาดเกิน 125 ซีซี : ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ค่าธรรมเนียม 500 บาท + ค่าขนขึ้น 100 บาท + ค่าขนลง 80 บาท
ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป "ให้งดรับบรรทุกส่งสัมภาระประเภทรถจักรยานต์เฉพาะที่มีขนาดของเครื่องยนต์เกิน 155 ซีซี ขึ้นไป ไว้เป็นการ ชั่วคราว" โทรเลข อดส. เลขที่ 5288 ลงวันที่ 17 เม.ย 62
การคิดค่าระวางสัมภาระ เป็นสัมภาระที่นำไปเกินน้ำหนักหรือปริมาตรที่อนุญาตไว้ต้องเสียค่าระวาง และค่าธรรมเนียม ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หากเป็นการกีดขวางที่จะนำเก็บไว้ในรถโดยสารก็ให้นำไปเก็บไว้ในรถที่ทำการพนักงานรักษารถ (พรร.)
การคิดค่าระวางสัมภาระ
1. กรณีนำไปกับขบวนรถด่วน รถเร็ว และขบวนรถพิเศษโดยสาร น้ำหนักไม่เกิน 100 กก.
ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ( จำนวนกลุ่ม x 30 ) , น้ำหนักเกิน 100 กก. - > ค่าระวางรวม = ค่าระวาง +( 5 x 30 ) +( จำนวนกลุ่มที่เกิน 100 กก.x 40 )
2. กรณีนำไปกับขบวนรถธรรมดา และขบวนรถดีเซลรางอื่น ๆ น้ำหนักไม่เกิน 100 กก.
ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ( จำนวนกลุ่ม x 20 ) , น้ำหนักเกิน 100 กก. - > ค่าระวางรวม = ค่าระวาง +( 5 x 20 ) +( จำนวนกลุ่มที่เกิน 100 กก.x 30 )
( จำนวนกลุ่ม คือ น้ำหนักของสัมภาระ ซึ่งการรถไฟฯ แยกเป็นส่วน ๆ ละ 20 กก.ต่อ 1 กลุ่ม เช่น 60 กก.คิดเป็น 3 กลุ่ม )
สัตว์มีชีวิต
สัตว์มีชีวิตอื่น ๆ เช่น สุนัข แมว ต้องบรรจุที่คุมขังมีฝาปิดให้เรียบร้อย ยกเว้น สุนัขที่ไม่ดุร้ายไม่ต้องบรรจุที่คุมขังก็ได้ ค่าระวาง คิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกกว่า 50 บาท บวก ค่าธรรมเนียม จำนวนกลุ่ม ห้ามนำสัตว์ทุกชนิด เข้าไปในรถปรับอากาศ
บริการขนส่งสินค้าห่อวัตถุด่วน เป็นบริการรับขนส่งหีบห่อวัตถุจากสถานี เพื่อนำส่งให้กับผู้รับปลายทาง (Station To Door) โดย ขบวนรถด่วนขบวนรถเร็ว และขบวนรถโดยสาร ในเส้นทางสายเหนือ สายใต้ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ
การคิดค่าระวาง
ค่าระวาง = อัตราค่าระวางด่วน + ค่าธรรมเนียม 50 % ของอัตราค่าระวางด่วน สินค้าทั่วไป คิดอัตราค่าระวางด่วน ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 60.00 บาท
สิ่งของตามรายชื่อที่ระบุต่อไปนี้ คิดค่าระวางขั้นต่ำ ดังนี้.-
ก. การคิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100.00 บาท โดยไม่ต้องคิดเป็นรายชิ้น ได้แก่
- ตู้ , โต็ะ , เตียง , เก้าอี้
- เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการกระจายเสียง , เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด
- เส้นหมี่ , วุ้นเส้น
- เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการถ่ายและฉายภาพยนตร์ , ฟิล์มภาพยนตร์
- โอ่ง หรือไหเปล่า
- เครื่องยนต์ทุกชนิดและอุปกรณ์
- เครื่องจักรสาน
- เครื่องใช้ในการมหรสพทุกชนิด
ข. การคิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 150.00 บาท โดยไม่ต้องคิดเป็นรายชิ้น ได้แก่
- นุ่น , สำลี , ฝ้าย , ที่นอน , จากตับ , ใบจาก
- โคมกระดาษ , กระป๋องเปล่า , โฟม , ปี๊บเปล่า
- เครื่องสำหรับเผาเซ่นไหว้ ตามประเพณีจีน
- สัตว์มีชีวิต
- ขวดเปล่า , หีบหรือลังเปล่า , กล่องเปล่า
- เข่งเปล่า กรงเปล่า สำหรับขังสัตว์
- ถังเปล่า (ไม่รวมถังบรรจุน้ำมันหรือก๊าซหุงต้ม)
- ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทำด้วยฟองน้ำ พลาสติกหรืออลูมิเนียม
ค. การคิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100.00 บาท โดยคิดเป็นรายชิ้นหรือรายคัน ได้แก่
- รถคนป่วย
- รถลากหรือรถเข็น
- รถสำหรับเด็กอ่อน
- รถถ่อ/รถโยก
- รถจักรยาน
- รถพ่วง
- จักรเย็บผ้า
- ยานยนต์ขนาดย่อม
การคิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 150.00 บาท โดยคิดเป็นรายชิ้น ได้แก่
- เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ส่วนควบ
ง. ถังสำหรับบรรจุน้ำ ที่มีขนาดเกินกว่า 2.5 x 1.00 x 0.80 เมตร หรือเกินกว่า 2 ลูกบาศก์เมตร คิดค่าระวางขั้นต่ำ
ตามขนาดความจุ ต่อ 1 ถัง ดังนี้
|
||||||||||||||||
|
สัมภาระ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หัตถภาระ คือ ถุงย่าม ห่อผ้า กระเป๋าถือ หีบหรือกระป๋องทุกชนิด ซึ่งผู้โดยสารนำไปในห้องรถโดยสารสำหรับใช้สอยเอง หรือเพื่อความสะดวก
2. ครุภาระ คือ สรรพสิ่งของเครื่องใช้ทุกชนิด ซึ่งผู้โดยสารอจากนำไปในรถภาระ
อนุญาตให้นำสัมภาระไปพร้อมกับตัวผู้โดยสาร ในขบวนรถต่าง ๆ ได้
1. สัมภาระที่มีขนาดไม่เกินกว่า 50 x 50 x 50 ซม. หรือสัญฐานอย่างอื่นที่ไม่เกินปริมาตรเดียวกัน
2. สัมภาระที่ไม่ใช่วัตถุที่ไวไฟหรือเป็นสิ่งอันพึงรังเกียจ หรือสิ่งของส่งกลิ่นรุนแรง หรืออาจเปรอะเปื้อนทำความเสียหายแก่ส่วนประกอบรถ หรือต่อบุคคล หรือสิ่งของของผู้โดยสารอื่น
3. สามารถเก็บในที่วางของหรือใต้ม้านั่งได้โดยเรียบร้อย หากเป็นรถที่ไม่มีที่วางของหรือชั้นวางของก็อนุโลมให้วางไว้ข้างที่นั่งในส่วนที่เป็นสิทธิของแต่ละคน (ตรงกับที่นั่งแต่ละคน) แต่ไม่ให้ล้ำเข้าไปในช่องทางเดินเกินจนไปปิดกั้นช่องทางเดินโดยสิ้นเชิง หรือกีดขวางการใช้สิทธิของผู้โดยสารอื่น และต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญกับผู้โดยสารอื่น
น้ำหนักที่ยกเว้นค่าระวาง กรณีนำไปกับขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถรวม ขบวนรถพิเศษโดยสาร และขบวนรถดีเซลรางที่เดินนอกเหนือ
จากขบวนรถชานเมือง ( ต่อ 1 ท่าน ) ชั้นที่ 1 ไม่เกิน 50 กิโลกรัม ชั้นที่ 2 ไม่เกิน 40 กิโลกรัม ชั้นที่ 3 ไม่เกิน 30 กิโลกรัม ( เด็กในเกณฑ์เสียค่าโดยสาร อนุญาตให้นำไปครึ่งหนึ่งของอัตรา )
กรณีนำไปกับขบวนรถดีเซลรางชานเมืองที่ตั้งต้น และสุดปลายทางอยู่ภายในระหว่างสถานี กรุงเทพ - ปราจีนบุรี - กรุงเทพ , กรุงเทพ - แก่งคอย - กรุงเทพ , กรุงเทพ - ลพบุรี - กรุงเทพ , กรุงเทพและธนบุรี - ราชบุรี - ธนบุรีและกรุงเทพ ผู้ใหญ่ และเด็กในเกณฑ์เสียค่าโดยสาร อนุญาตให้นำไปได้ไม่เกินท่านละ 15 กิโลกรัม การรถไฟฯ อนุญาตให้คนพิการนำรถเข็นซึ่งใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวเป็นสัมภาระติดตัวเดินทางไปกับขบวนรถโดยสารได้ โดยไม่ต้องเสียค่าระวางใด ๆ
รถจักรยานยนต์ อนุญาตให้นำไปกับขบวนรถโดยสาร และรถรวมทุกขบวน โดยเสียค่าระวาง ดังนี้
ขนาดไม่เกิน 125 ซีซี : ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ค่าธรรมเนียม 400 บาท + ค่าขนขึ้น 80 บาท + ค่าขนลง 60 บาท
**ขนาดเกิน 125 ซีซี : ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ค่าธรรมเนียม 500 บาท + ค่าขนขึ้น 100 บาท + ค่าขนลง 80 บาท
ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป "ให้งดรับบรรทุกส่งสัมภาระประเภทรถจักรยานต์เฉพาะที่มีขนาดของเครื่องยนต์เกิน 155 ซีซี ขึ้นไป ไว้เป็นการ ชั่วคราว" โทรเลข อดส. เลขที่ 5288 ลงวันที่ 17 เม.ย 62
การคิดค่าระวางสัมภาระ เป็นสัมภาระที่นำไปเกินน้ำหนักหรือปริมาตรที่อนุญาตไว้ต้องเสียค่าระวาง และค่าธรรมเนียม ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หากเป็นการกีดขวางที่จะนำเก็บไว้ในรถโดยสารก็ให้นำไปเก็บไว้ในรถที่ทำการพนักงานรักษารถ (พรร.)
การคิดค่าระวางสัมภาระ
1. กรณีนำไปกับขบวนรถด่วน รถเร็ว และขบวนรถพิเศษโดยสาร น้ำหนักไม่เกิน 100 กก.
ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ( จำนวนกลุ่ม x 30 ) , น้ำหนักเกิน 100 กก. - > ค่าระวางรวม = ค่าระวาง +( 5 x 30 ) +( จำนวนกลุ่มที่เกิน 100 กก.x 40 )
2. กรณีนำไปกับขบวนรถธรรมดา และขบวนรถดีเซลรางอื่น ๆ น้ำหนักไม่เกิน 100 กก.
ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ( จำนวนกลุ่ม x 20 ) , น้ำหนักเกิน 100 กก. - > ค่าระวางรวม = ค่าระวาง +( 5 x 20 ) +( จำนวนกลุ่มที่เกิน 100 กก.x 30 )
( จำนวนกลุ่ม คือ น้ำหนักของสัมภาระ ซึ่งการรถไฟฯ แยกเป็นส่วน ๆ ละ 20 กก.ต่อ 1 กลุ่ม เช่น 60 กก.คิดเป็น 3 กลุ่ม )
สัตว์มีชีวิต
สัตว์มีชีวิตอื่น ๆ เช่น สุนัข แมว ต้องบรรจุที่คุมขังมีฝาปิดให้เรียบร้อย ยกเว้น สุนัขที่ไม่ดุร้ายไม่ต้องบรรจุที่คุมขังก็ได้ ค่าระวาง คิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกกว่า 50 บาท บวก ค่าธรรมเนียม จำนวนกลุ่ม ห้ามนำสัตว์ทุกชนิด เข้าไปในรถปรับอากาศ